วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 6
น้ำตกไนแอการา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 5
กิจกรรมที่ 5
ชื่อ นางนุชนารถ ลับโกษา เกิดวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2500
1.ประวัติการศึกษา
1. การศึกษาชั้นประถมปีที่
1 - 4 จากโรงเรียนบ้านหนองจอก ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
2. การศึกชั้นประถมปีที่
5 – 7 จากโรงเรียนบ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่
1 - 3 จากโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
4. การศึกษาระดับ
ปวช. จากโรงเรียนเสาวภาผ่องศรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2521
5. การศึกระดับอนุปริญญา
เอกออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2539
6. ระดับปริญญาตรี
เอกการประศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2550
2.ประวัติการทำงาน
เริ่มรับราชการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ในตำแหน่ง ครู 1 โรงเรียนบ้านผางอุดมสมบูรณ์วิทยา
ตำบลขามเดื่อ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ และย้ายมาที่โรงเรียนบ้านคาละแมะ
ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 1 สิงหาคม 2527ในตำแหน่ง ครู 1 ระดับ 2 และในปัจจุบันตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านคาละแมะ ตำบลคาละ
อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
3.ผลงานดีเด่น
เป็นครูดีเด่นและครูแกนนำระดับอำเภอ แข่งความเลิศระดับ CEO ศีขรภูมิ 3 การท่องบทอาขยานนักเรียนช่วงชั้นที่ 1ได้ชนะเลิศอันดับ 1
4.นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีมาใช้ในการพัฒนาตนเองอย่างไร
?
การเป็นครูที่ดีนั้นต้องรู้จักการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
แสวงหาความรู้ตลอดเวลา และต้องดุแลเอาใจใส่นักเรียนให้ทั่วถึงรู้ข้อบกพร่องของนักเรียนแล้วนำมาพัฒนานักเรียนให้เก่งขึ้นได้
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 4
กิจกรรมที่ 4
1.
แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีมเป็นอย่างไร
?
การทำงานเป็นทีมนั้น คือการรวมกลุ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันและต้องมีความร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีมที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมนั้นต้องเข้าใจเป้าหมายอย่างชัดเจน
ร่วมมือกันคิดและแก้ไขปัญหาได้ทุกสถานการณ์ สมาชิกทุกคนต้องรู้จักการเสียสละ วางใจต่อกัน
ยอมรับฟังเหตุผลและข้อเสนอแนะของทุกคนในทีมใช้ความขัดแย้งในหาเหตุผลเพื่อนำสู่จุดมุ่งหมายที่สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม และที่สำคัญในกลุ่มต้องมีการประสานงานที่ดีและมีระบบ
ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
-วิเคราะห์งาน
-กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
-วางแผนการทำงาน
-กำหนดกิจกรรม
-แบ่งงานให้สมาชิกในทีม
-ปฏิบัติจริงตามแผน
-ติดตามผลและนิเทศงาน
- ประเมินงานขั้นสุดท้าย
2.นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพอย่างไร
ยกตัวอย่างประกอบ ?
การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องเรียนรู้นิสัยและลักษณะทางด้านต่างๆ
ของผุ้ร่วมงาน อาทิ ด้านอารมณ์ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึก บุคลิกภาพ เป็นต้น การทำงานเป็นทีมนั้นทุกคนต้องสามารถที่จะรับฟังความคิดเห็นของผุ้อื่น
และต้องยอมรับในข้อบกพร่องของตนเองให้ได้
ที่สำคัญคือ ต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ
ความคิด ความเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอีกด้วย การทำงานเป็นทีมนั้นรู้จักการวางแผน กระบวนการ การจัดระบบเพื่อให้งานนั้นออกมามีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง… การทำงานกลุ่มนั้น สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเคารพซึ่งกันและกัน มีการร่วมกันเสนอความคิดเห็น
อาจจะมีข้อโต้แย้งกันบ้างแต่ต้องอยู่ภายใต้เหตุและผลไม่ควรใช้อารมณ์เป็นตัวกำหนด
การทำงานที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการคิดวิเคราะห์ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร
ทำเพื่ออะไร จากนั้นก็เริ่มวางแผนงาน กำหนดงาน
ค้นคว้าหาข้อมูล ลงมือปฏิบัติจริง จากนั้นรวบรวมข้อมูลและนำมาประมวลผล
การทำงานทุกขั้นตอนนั้นต้องทำอย่างมีระบบและชิ้นงานจะออกมาดีมีประสิทธิภาพ..
กิจกรรมที่ 3
กิจกรรมที่ 3
1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่
21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร ?
การเรียนรู้ยุคก่อนศตวรรษที่ 21 นั้นระบบการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น การถ่ายทอดความรู้ก็จะมีผู้เชียวชาญหรือผู้มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
และมนุษย์ยังไม่รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ยังต้องเรียนรู้ผ่านการกำหนดตามสูตรที่โรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นหลักในการหาความรู้ และจะเน้นการเรียนการสอนที่เน้นครูผู้สอนเป็นหลัก เน้นการสอนแบบบรรยาย
การอ่านเฉพาะตำราเรียนเท่านั้น
การเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่
21 นั้นได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอย่างรวดเร็วขึ้น การเรียนรู้ในยุคนี้จะถือว่าการเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์ทุกคนนั้นเกิดมาต้องได้รับเรียนรู้ และการเรียนรู้นั้นทุกคนสามรถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
สามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ทุกเวลาและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 นั้นจะเน้นผู้เรียนเป็นหลัก จะจัดการเรียนการสอนตามความต้องการของผุ้เรียนทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการสอน
เพราะผู้เรียนสามารถจะตัดสินใจได้ว่าจะเรียนอะไร
เรียนอย่างไร ?
ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรการเรียนที่หลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของนักเรียน..
… .. ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ในยุคก่อน-หลังศตวรรษ 21 คือ
-ยุคก่อนศตวรรษ
21 เน้นผู้สอนและหลักสูตรเป็นหลักในการสอน ผู้เรียนไม่ค่อยเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน
-ยุคศตวรรษที่ 21
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการกำหนดการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ทุกเวลา การเรียนเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต
*************************************
2. ครูผู้สอนจะเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุคต่อไปข้างหน้า
ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
?
ในฐานะที่จะเป็นครูผู้สอนในยุคที่ทันสมัยนั้น
บุคลาการครูทุกท่านนั้นต้องมีความพร้อมในหลายด้าน คือ
-ต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่น
Internet และต้องนำเทคโนโลยีเหล่ามาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม
-ผู้สอนนั้นต้องทำหน้าที่หาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของโลก
สามารถนำความรู้ที่ได้มานั้นมาเผยแพร่ให้กับนักเรียนและชุมชนได้รับรู้ โดยผ่านสื่อการถ่ายทอดความรู้ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสาร
เช่น วารสาร CD
VDO Web เป็นต้น
และที่สำคัญเนื้อหาที่จะนำเสนอนั้นต้องสามารถอ้างอิงได้และทันสมัยอยู่เสมอ
การสอนในยุคนี้การจัดกิจกรรมการเรียนนั้นจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นหลัก การจัดหลักสูตรการสอนนั้นต้องเปิดกว้างให้มากที่สุด ครูนั้นต้องทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะในสิ่งที่นักเรียนต้องการจะเรียนรู้
การกำหนดการสอนต้องบูรณาการ ได้กับหลายสาขาวิชาและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ การสอนต้องสื่อการเรียนที่ทันสมัย สร้างสรรค์
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมทดสอบกลางภาค
กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความที่ 2 ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
จากบทความความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น การสั่งงานของพระองค์ท่านนั้นเปรียบเสมือนพระองค์ท่านเป็นดั่งครูของแผ่นดิน ครูของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยพระองค์ท่านนั้นจะยึดถือพระองค์เองเป็นแบบอย่างให้แก่ทุกคน ใช้กลวิธีการสั่งงานผ่านกระบวนการสอน สอนให้รู้จักการคิดวิเคราะห์ สังเกตรายละเอียดของเรื่องต่างๆและให้ยึดถือความทุกข์ของประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานราชการนั้นต้องมีความทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อประชาชน ดังตัวอย่างโครงการกว่าพันโครงการของพระองค์ท่าน ที่นอกจากจะเป็นผุ้ริเริ่มคิดโครงการต่างเพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชนแล้ว พระองค์ทรงลงมือปฏิบัติโครงการต่างๆด้วยตัวพระองค์เองเพื่อเป็นแบบอย่าง และเป็นการสอนให้ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริงสามารถแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องได้จริง การสอนของพระองค์ท่านนั้นก็จะควบคู่ไปกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สามรถนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั่งยังทำให้ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุขบนรากฐานชีวิตของบ้านเกิด
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนนั้นท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร
ดิฉันจะใช้วิธีการสอนโดยให้นักเรียนได้ฝึกฝนจากประสบการณ์จริง ได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อที่จะได้ให้นักเรียนได้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถรับรู้ทั้งประโยชน์ และหากมีปัญหาก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง และในสถานะที่เราเป็นครูเราคือจุดเริ่มต้น ดิฉันจะใช้วิธีการสอนโดยการลงมือกระทำไปด้วย อีกทั่งยังจะเน้นแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)